สมัครสอบ ก.พ. ประจําปี 2566 วัดความรู้ความสามารถทั่วไป

ประกาศสํานักงาน ก.พ. ประกาศ เรื่อง รับสมัครสอบเพื่อวัดความรู้ความสามารถทั่วไป ประจําปี 2566 (ฉบับแก้ไขกำหนดการ)  เมื่อวันที่ 23 มกราคม พ.ศ. 2566 เพื่อเปิดรับสมัครสอบ ก.พ. ประจําปี 2566 วัดความรู้ความสามารถทั่วไป (Paper & Pencil) ตั้งแต่วันที่ 9 มกราคม 2566 เวลา 08.30 น. ถึงวันที่ 17 กุมภาพันธ์ 2566 (ไม่เว้นวันหยุดราชการ) โดยจะจัดสอบในวันอาทิตย์ที่ 2 กรกฎาคม 2566

  • เปิดรับสมัคร สอบ ก.พ. แบบ e-Exam ประจำปี 2566
  • เงินเดือนข้าราชการ (อัพเดตล่าสุด 2566)

สมัครสอบ ก.พ. วัดความรู้ความสามารถทั่วไป 2566 (Paper & Pencil)

ด้วยสํานักงาน ก.พ. จะดําเนินการสอบเพื่อวัดความรู้ความสามารถทั่วไป ประจําปี 2566 ฉะนั้น อาศัยอํานาจตามความในมาตรา 53 แห่งพระราชบัญญัติระเบียบข้าราชการพลเรือน พ.ศ. 2551 ประกอบกับ หนังสือสํานักงาน ก.พ. ที่ นร 1004/ว 17 ลงวันที่ 11 ธันวาคม 2556 ที่ นร 1004/ว 3 ลงวันที่ 15 กุมภาพันธ์ 2561 และที่ นร 1004/ว 12 ลงวันที่ 2 กรกฎาคม 2562 จึงประกาศรับสมัครสอบ ดังรายละเอียดต่อไปนี้ 

1. ระดับวุฒิการศึกษาที่รับสมัครสอบ 

สํานักงาน ก.พ. จะรับสมัครสอบ จํานวน 4 ระดับวุฒิการศึกษา ดังรายละเอียดตามเอกสารหมายเลข 1 

2. วิธีดําเนินการ 

2.1 สํานักงาน ก.พ. เปิดรับสมัครสอบและจะดําเนินการสอบเพื่อวัดความรู้ความสามารถ ทั่วไป สําหรับผู้ที่สําเร็จการศึกษาแล้ว หรือผู้ที่กําลังจะสําเร็จการศึกษาในปีการศึกษา 2566 ในระดับ ประกาศนียบัตรวิชาชีพ (ปวช.) ประกาศนียบัตรวิชาชีพเทคนิค (ปวท.) อนุปริญญา ประกาศนียบัตร วิชาชีพชั้นสูง (ปวส.) ปริญญาตรี ปริญญาโท หรือคุณวุฒิอย่างอื่นที่เทียบได้ในระดับเดียวกันกับคุณวุฒิดังกล่าวข้างต้น ที่ยังไม่มีหนังสือรับรองผลการสอบผ่านการวัดความรู้ความสามารถทั่วไปของสํานักงาน ก.พ. 

เมื่อส่วนราชการใดประสงค์จะบรรจุบุคคลเข้ารับราชการในตําแหน่งใดจากผู้สําเร็จการศึกษา ระดับใด สาขาวิชาใด หรือทางใด ส่วนราชการนั้นจะรับสมัครสอบแข่งขันเพื่อบรรจุและแต่งตั้งบุคคลเข้ารับราชการ และดําเนินการสอบแข่งขันเพื่อวัดความรู้ความสามารถที่ใช้เฉพาะตําแหน่งและความเหมาะสมกับตําแหน่ง ตามหลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขที่กําหนดในหนังสือสํานักงาน ก.พ. ที่ นร 1004/ว 17 ลงวันที่ 11 ธันวาคม 2556 เพื่อขึ้นบัญชีผู้สอบแข่งขันได้สําหรับการบรรจุและแต่งตั้งเข้ารับราชการในตําแหน่งนั้นต่อไป ทั้งนี้ จะให้ขึ้นบัญชีผู้สอบแข่งขันได้เฉพาะผู้ที่สอบผ่านการสอบแข่งขันฯ ที่ได้ยื่นหนังสือรับรองผลการสอบผ่านการวัดความรู้ความสามารถทั่วไปของสํานักงาน ก.พ. ตามระดับการศึกษาที่กําหนด 

2.2 การดําเนินการสอบ 

(1) สํานักงาน ก.พ. จะดําเนินการสอบเพื่อวัดความรู้ความสามารถทั่วไป ในวันอาทิตย์ที่ 2 กรกฎาคม 2566 โดยผู้สมัครสอบจะมีสิทธิเข้าสอบตามวัน เวลา และสถานที่ที่สํานักงาน ก.พ. กําหนด และจะดําเนินการสอบพร้อมกันที่ศูนย์สอบ รวม 11 ศูนย์สอบ คือ กรุงเทพมหานครและนนทบุรี พระนครศรีอยุธยา ราชบุรี ชลบุรี เชียงใหม่ พิษณุโลก นครราชสีมา อุบลราชธานี ขอนแก่น สุราษฎร์ธานี และสงขลา ซึ่งแต่ละศูนย์สอบจะมีจํานวนที่นั่งสอบตามที่กําหนดไว้ในรายละเอียดตามเอกสารหมายเลข 2 

(2) กรณีที่นั่งสอบในศูนย์สอบที่ประสงค์จะสมัครสอบ มีผู้สมัครสอบครบตามจํานวนแล้ว ผู้สมัครสอบจะต้องเลือกศูนย์สอบอื่นที่ยังมีที่นั่งสอบเหลืออยู่ ทั้งนี้ การสมัครสอบจะเสร็จสิ้นสมบูรณ์ต่อเมื่อ ผู้สมัครสอบได้ชําระเงินค่าธรรมเนียมในการสมัครสอบเรียบร้อยแล้ว 

(3) กรณีผู้สมัครสอบไม่ชําระค่าธรรมเนียมในการสมัครสอบตามวัน เวลาที่กําหนด ในแบบฟอร์มการชําระเงิน ข้อมูลการสมัครสอบของท่านจะถูกยกเลิกโดยอัตโนมัติ

3. คุณสมบัติของผู้มีสิทธิสมัครสอบ 

3.1 ผู้สมัครสอบต้องมีคุณสมบัติทั่วไปและไม่มีลักษณะต้องห้าม ตามมาตรา 36 แห่งพระราชบัญญัติระเบียบข้าราชการพลเรือน พ.ศ. 2551 ดังต่อไปนี้ 

ก. คุณสมบัติทั่วไป

(1) มีสัญชาติไทย 

(2) มีอายุไม่ต่ำกว่าสิบแปดปี (นับถึงวันปิดรับสมัครสอบ) 

(3) เป็นผู้เลื่อมใสในการปกครองระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุขด้วยความบริสุทธิ์ใจ 

ข. ลักษณะต้องห้าม 

(1) เป็นผู้ดํารงตําแหน่งทางการเมือง 

(2) เป็นคนไร้ความสามารถ คนเสมือนไร้ความสามารถ คนวิกลจริต หรือจิตฟั่นเฟือน ไม่สมประกอบ หรือเป็นโรคตามที่กําหนดในกฎ ก.พ. 

(3) เป็นผู้อยู่ในระหว่างถูกสั่งพักราชการหรือถูกสั่งให้ออกจากราชการไว้ก่อน ตามพระราชบัญญัติ หรือตามกฎหมายอื่น 

(4) เป็นผู้บกพร่องในศีลธรรมอันดีจนเป็นที่รังเกียจของสังคม 

(5) เป็นกรรมการหรือผู้ดํารงตําแหน่งที่รับผิดชอบในการบริหารพรรคการเมือง หรือเจ้าหน้าที่ในพรรคการเมือง 

(6) เป็นบุคคลล้มละลาย 

(7) เป็นผู้เคยต้องรับโทษจําคุกโดยคําพิพากษาถึงที่สุดให้จําคุกเพราะกระทําความผิดทางอาญา เว้นแต่เป็นโทษสําหรับความผิดที่ได้กระทําโดยประมาทหรือความผิดลหุโทษ 

(8) เป็นผู้เคยถูกลงโทษให้ออก ปลดออก หรือไล่ออกจากรัฐวิสาหกิจ หรือหน่วยงานอื่นของรัฐ

(9) เป็นผู้เคยถูกลงโทษให้ออก หรือปลดออก เพราะกระทําผิดวินัยตามพระราชบัญญัตินี้ หรือตามกฎหมายอื่น 

(10) เป็นผู้เคยถูกลงโทษไล่ออกเพราะกระทําผิดวินัยตามพระราชบัญญัตินี้ หรือตามกฎหมายอื่น 

(11) เป็นผู้เคยกระทําการทุจริตในการสอบเข้ารับราชการ หรือเข้าปฏิบัติงาน ในหน่วยงานของรัฐ 

ผู้ที่จะเข้ารับราชการเป็นข้าราชการพลเรือนซึ่งมีลักษณะต้องห้ามตามมาตรา 36 ข. (4) (6) (7) (8) (9) (10) หรือ (11) ก.พ. อาจพิจารณายกเว้นให้เข้ารับราชการได้ แต่ถ้าเป็นกรณีมีลักษณะต้องห้ามตาม (8) หรือ (4) ผู้นั้นต้องออกจากงานหรือออกจากราชการไปเกินสองปีแล้ว และในกรณีมีลักษณะ ต้องห้ามตาม (10) ผู้นั้นต้องออกจากงานหรือออกจากราชการไปเกินสามปีแล้ว และต้องมิใช่เป็นกรณีออกจาก งานหรือออกจากราชการเพราะทุจริตต่อหน้าที่ สําหรับผู้มีลักษณะต้องห้ามตามมาตรา 36 ข. (1) ให้มีสิทธิ สมัครสอบได้ แต่จะมีสิทธิได้รับบรรจุเป็นข้าราชการพลเรือนสามัญที่สอบแข่งขันได้ต่อเมื่อพ้นจากการเป็น ผู้ดํารงตําแหน่งทางการเมืองแล้ว 

สําหรับพระภิกษุหรือสามเณร ทางราชการไม่รับสมัครสอบ และไม่อาจให้เข้าสอบได้ ทั้งนี้ ตามคําสั่งมหาเถรสมาคม ที่ 1/2564 ลงวันที่ 28 กันยายน 2564 เรื่อง กรณีภิกษุสามเณรเรียนวิชา หรือสอบแข่งขันอย่างคฤหัสถ์ พ.ศ. 2564 

3.2 ผู้สมัครสอบต้องเป็นผู้สําเร็จการศึกษา หรือผู้ที่กําลังจะสําเร็จการศึกษาในปีการศึกษา 2566 ในระดับต่าง ๆ ตามรายละเอียดเกี่ยวกับระดับวุฒิการศึกษาที่รับสมัครสอบ ในเอกสารหมายเลข 1 

4. การรับสมัครสอบ 

ผู้ประสงค์จะสมัครสอบสามารถสมัครได้ทางอินเทอร์เน็ต ตลอด 24 ชั่วโมง ที่เว็บไซต์หัวข้อ “การสอบเพื่อวัดความรู้ความสามารถทั่วไป (paper & pencil) ประจําปี 2566” ไม่เว้นวันหยุดราชการ 

4.1 ผู้สมัครสอบสามารถกรอกข้อมูลการสมัครสอบได้ที่เว็บไซต์ หัวข้อ “การสอบเพื่อวัดความรู้ความสามารถทั่วไป (paper & pencil) ประจําปี 2566” ตั้งแต่วันที่ 9 มกราคม 2566 เวลา 08.30 น. ถึงวันที่ 17 กุมภาพันธ์ 2566 (ไม่เว้นวันหยุดราชการ) เว้นแต่กรณีที่ผู้สมัครสอบ ทั้ง 11 ศูนย์สอบ มีการสมัครสอบครบตามจํานวนที่นั่งสอบทั้ง 333,500 ที่นั่งสอบ ก่อนวันที่กําหนดดังกล่าว จะไม่สามารถกรอกข้อมูลการสมัครสอบได้ ทั้งนี้ รายละเอียดศูนย์สอบและจํานวนที่นั่งสอบ เป็นไปตามเอกสาร

4.2 ผู้สมัครสอบจะต้องสมัครสอบตามขั้นตอนภายในระยะเวลาที่กําหนด ดังนี้ 

ขั้นตอนที่ 1 กรอกข้อมูลการสมัครสอบและพิมพ์แบบฟอร์มการชําระเงิน 

(1) เข้าเว็บไซต์ หัวข้อ “การสอบเพื่อวัดความรู้ความสามารถ ทั่วไป (paper & pencil) ประจําปี 2566” หัวข้อย่อย “สมัครสอบ” แล้วกรอกข้อมูลส่วนบุคคล ให้ครบถ้วน ถูกต้อง และเลือกศูนย์สอบที่ต้องการ เมื่อยืนยันการสมัครสอบแล้ว จะไม่สามารถเปลี่ยนแปลงแก้ไขได้ 

(2) ระบบรับสมัครสอบจะดําเนินการตรวจสอบข้อมูลส่วนบุคคลและข้อมูลการสอบผ่าน การวัดความรู้ความสามารถทั่วไปของผู้สมัครสอบ กรณีที่ระบบตรวจสอบแล้วพบว่า ผู้สมัครสอบเป็นผู้สอบผ่าน การวัดความรู้ความสามารถทั่วไปของสํานักงาน ก.พ. ในระดับวุฒิการศึกษาใดแล้ว ผู้สมัครสอบจะไม่สามารถ สมัครสอบในระดับวุฒิการศึกษาเดียวกันหรือต่ำกว่าได้ ยกเว้นกรณีที่ผลการสอบผ่านของผู้สมัครสอบเป็นโมฆะ 

และต้องการสมัครสอบในครั้งนี้ ผู้สมัครสอบจะต้องกรอกคําร้องขอเป็นผู้มีสิทธิสมัครสอบ พร้อมแนบไฟล์สําเนา ระเบียนแสดงผลการศึกษา (Transcript of Records) หรือเอกสารอื่น ๆ ผ่านเว็บไซต์ภายในวันปิดรับสมัครสอบ 

(3) ระบบจะกําหนดแบบฟอร์มการชําระเงินที่มี QR Code ให้ผู้สมัครสอบสามารถสแกนชําระเงินผ่านแอปพลิเคชัน “Krungthai Next” หรือ “เป๋าตัง” ได้ทันที หรือสามารถพิมพ์แบบฟอร์ม การชําระเงินลงในกระดาษขนาด A4 เพื่อชําระเงินในภายหลัง หรือหากไม่มีเครื่องพิมพ์ในขณะนั้น ให้บันทึก ข้อมูลเก็บไว้ในรูปแบบ File ลงในสื่อบันทึกข้อมูล 

ในกรณีที่แบบฟอร์มการชําระเงินสูญหาย หรือกรอกใบสมัครแล้ว แต่ยังไม่ได้พิมพ์ แบบฟอร์มการชําระเงิน ผู้สมัครสอบสามารถเข้าไปค้นหาในระบบรับสมัครสอบ และพิมพ์แบบฟอร์ม การชําระเงินใหม่ได้ 

(4) กรณีมีที่นั่งสอบว่างจากการไม่ชําระเงินภายในวันและเวลาที่กําหนด ผู้สมัครสอบ สามารถตรวจสอบที่นั่งสอบที่ว่างได้ ในเวลาประมาณ 08.00 น. และสามารถสมัครสอบได้ในเวลา 08.30 น. ของทุกวันจนกว่าที่นั่งสอบจะเต็มทุกศูนย์สอบ หรือจนกว่าจะปิดการรับสมัครสอบ 

ขั้นตอนที่ 2 ชําระเงินค่าธรรมเนียมในการสมัครสอบ 

(1) ผู้สมัครสอบต้องชําระเงินค่าธรรมเนียมในการสมัครสอบ ภายในเวลา 22.00 น. ของวันถัดไปนับจากวันที่ที่ได้ยืนยันการสมัครสอบตาม (1) ของขั้นตอนที่ 1 และหากไม่ชําระเงินภายในวันและเวลาดังกล่าว ใบสมัครสอบจะถูกยกเลิกโดยอัตโนมัติ 

(2) ผู้สมัครสอบต้องชําระเงินค่าธรรมเนียมในการสมัครสอบ จํานวน 280 บาท  ประกอบด้วยค่าธรรมเนียมสอบ จํานวน 250 บาท และค่าธรรมเนียมธนาคารรวมค่าบริการทางอินเทอร์เน็ตคิดสูงสุดไม่เกิน 30 บาท โดยค่าธรรมเนียมดังกล่าวจะไม่จ่ายคืนให้ไม่ว่ากรณีใด ๆ ทั้งสิ้น 

(3) ผู้สมัครสอบสามารถชําระเงินค่าธรรมเนียมในการสมัครสอบได้ 4 ช่องทาง คือ 

  • ช่องทางที่ 1 ชําระเงินผ่านเคาน์เตอร์ธนาคารกรุงไทย จํากัด (มหาชน) ทุกสาขา ทั่วประเทศ ภายในวันและเวลาทําการของธนาคาร และตามวัน เวลาที่กําหนดในแบบฟอร์มการชําระเงิน และให้เก็บหลักฐานการชําระเงินไว้ด้วย ทั้งนี้ ผู้สมัครสอบต้องตรวจสอบความถูกต้องของข้อมูลในหลักฐาน การชําระเงิน หากพบว่าไม่ถูกต้อง ให้รีบติดต่อธนาคารกรุงไทย จํากัด (มหาชน) สาขาที่ชําระเงินทันที 
  • ช่องทางที่ 2 ชําระเงินผ่านเครื่อง ATM ของธนาคารกรุงไทย จํากัด (มหาชน) ตามวัน เวลาที่กําหนดในแบบฟอร์มการชําระเงิน โดยผู้สมัครสอบที่มีบัตร ATM ของธนาคารกรุงไทย จํากัด (มหาชน) สามารถนําแบบฟอร์มการชําระเงิน ไปทํารายการชําระเงินผ่านเครื่อง ATM ของธนาคารกรุงไทย จํากัด (มหาชน) โดยเลือกประเภทบริการ “บริการอื่น ๆ” เลือก “ชําระค่าบริการ/เติมเงินมือถือ” และเลือก “สาธารณณูปโภค/อื่นๆ และเลือก “สํานักงาน ก.พ. (OCSC)” โดยต้องชําระเงินระหว่างเวลา 00.01 – 22.00 น. และปฏิบัติตาม ขั้นตอนที่ระบบกําหนดไว้ และให้เก็บหลักฐานการชําระเงิน (Slip) ไว้เป็นหลักฐานด้วย
  • ช่องทางที่ 3 ชําระเงินผ่านทางแอปพลิเคชัน “Krungthai Next” ตามวัน เวลา ที่กําหนดในแบบฟอร์มการชําระเงิน โดยผู้สมัครสอบที่มีบัญชีเงินฝากธนาคารกรุงไทย จํากัด (มหาชน) ที่ได้ลงทะเบียน (Register) ขอใช้บริการแอปพลิเคชัน “Krungthai Next” แล้ว สามารถนํารหัส QR Code ไปทํารายการชําระเงินผ่านแอปพลิเคชัน “Krungthai Next” โดยต้องชําระเงินระหว่างเวลา 00.01 – 22.00 น. และปฏิบัติตามขั้นตอนที่ระบบกําหนดไว้ และให้เก็บหลักฐานการชําระเงิน (Slip) ไว้เป็นหลักฐานด้วย
  • ช่องทางที่ 4 ชําระเงินผ่านทางแอปพลิเคชัน “เป๋าตัง” ตามวัน เวลาที่กําหนด ในแบบฟอร์มการชําระเงิน โดยผู้สมัครสอบที่ได้ลงทะเบียน (Register) ขอใช้บริการแอปพลิเคชัน “เป๋าตัง” แล้ว สามารถนํารหัส QR Code ไปทํารายการชําระเงินผ่านแอปพลิเคชัน “เป๋าตัง” โดยต้องชําระเงินระหว่าง เวลา 00.01 – 22.00 น. และปฏิบัติตามขั้นตอนที่ระบบกําหนดไว้ และให้เก็บหลักฐานการชําระเงิน (Slip) ไว้เป็นหลักฐานด้วย 

การสมัครสอบจะเสร็จสิ้นสมบูรณ์ต่อเมื่อผู้สมัครได้ชําระเงินค่าธรรมเนียมในการสมัครสอบเรียบร้อยแล้ว 

ขั้นตอนที่ 3 ตรวจสอบสถานะการสมัครสอบ หลังชําระเงินแล้ว 2 วันทําการ

หลังจากที่ได้ชําระเงินค่าธรรมเนียมในการสมัครสอบไปแล้ว 2 วันทําการ ให้ผู้สมัครสอบ เข้าไปที่เว็บไซต์ หัวข้อ “การสอบเพื่อวัดความรู้ความสามารถทั่วไป (paper & pencil) ประจําปี 2566” หัวข้อย่อย “ตรวจสอบสถานะการสมัครสอบ” และกรอกเลขประจําตัวประชาชน 13 หลัก เพื่อตรวจสอบสถานะการสมัครสอบ 

ขั้นตอนที่ 4 ตรวจสอบรายชื่อผู้สมัครสอบ 

เมื่อสํานักงาน ก.พ. ประกาศรายชื่อผู้สมัครสอบแล้ว ให้ผู้สมัครสอบเข้าไปที่เว็บไซต์ https://job3.ocsc.go.th หัวข้อ “การสอบเพื่อวัดความรู้ความสามารถทั่วไป (paper & pencil) ประจําปี 2566” หัวข้อย่อย “ค้นหารายชื่อผู้สมัครสอบ 

กรณีผู้สมัครสอบที่ดําเนินการสมัครสอบและชําระเงินค่าธรรมเนียมในการสมัครสอบ ภายในวันและเวลาที่กําหนด แต่ไม่มีชื่อในประกาศสํานักงาน ก.พ. ผู้สมัครสอบจะต้องนําหลักฐานการชําระ ค่าธรรมเนียมในการสมัครสอบ และสําเนาบัตรประจําตัวประชาชน ยื่นทาง e-mail :[email protected] ภายในวันที่ 15 มีนาคม 2566 ซึ่งหากตรวจสอบความถูกต้องแล้ว จะประกาศรายชื่อผู้สมัครสอบเพิ่มเติม ต่อไป 

ขั้นตอนที่ 5 อัปโหลด (upload) รูปถ่าย

เมื่อปิดรับสมัครสอบแล้ว ให้ผู้สมัครสอบอัปโหลด (upload) รูปถ่ายได้ตั้งแต่วันที่ 20 กุมภาพันธ์ – 28 มิถุนายน 2566 โดยเข้าไปที่เว็บไซต์ หัวข้อ “การสอบเพื่อวัด ความรู้ความสามารถทั่วไป (paper & pencil) ประจําปี 2566” หัวข้อย่อย “อัปโหลด (upload) รูปถ่าย โดยกรอกเลขประจําตัวประชาชน 13 หลัก เพื่ออัปโหลด (upload) รูปถ่ายหน้าตรง ไม่สวมหมวก ไม่สวมแว่นตาดํา ถ่ายไว้ไม่เกิน 5 เดือน พื้นหลังไม่มีลวดลาย (ประเภทของไฟล์เป็น .JPG ความละเอียดไม่น้อยกว่า 40 KB) โดยต้องเป็นรูปถ่าย ใช้ในการสมัครงาน 

รูปถ่ายที่อัปโหลดจะปรากฏบนบัตรประจําตัวสอบและหนังสือรับรองผลการสอบผ่านการวัดความรู้ความสามารถทั่วไปของสํานักงาน ก.พ. และไม่สามารถแก้ไขรูปถ่ายได้ 

กรณีที่ผู้สมัครสอบไม่ได้อัปโหลด (upload) รูปถ่าย จะไม่สามารถพิมพ์บัตรประจําตัวสอบได้ ทั้งนี้ การไม่มีบัตรประจําตัวสอบจะไม่ได้รับอนุญาตให้เข้าสอบ 

ขั้นตอนที่ 6 พิมพ์บัตรประจําตัวสอบ 

เมื่อสํานักงาน ก.พ. ประกาศกําหนดวัน เวลา และสถานที่สอบแล้ว ให้ผู้สมัครสอบเข้าไปที่หัวข้อ “การสอบเพื่อวัดความรู้ความสามารถทั่วไป (paper & pencil) ประจําปี 2566” หัวข้อย่อย “ค้นหาสถานที่สอบและพิมพ์บัตรประจําตัวสอบ” โดยกรอกเลขประจําตัว ประชาชน 13 หลัก เพื่อพิมพ์บัตรประจําตัวสอบ พร้อมลงลายมือชื่อ และนําไปแสดงตนในการเข้าห้องสอบในวันสอบ 

ทั้งนี้ บัตรประจําตัวสอบถือเป็นเอกสารสําคัญที่ต้องนําไปแสดงตนเพื่อใช้ในการเข้าห้องสอบ หากไม่มีบัตรประจําตัวสอบจะไม่ได้รับอนุญาตให้เข้าสอบ และแม้ว่ามีบัตรประจําตัวสอบ แต่หาก รูปถ่ายที่ปรากฏบนบัตรประจําตัวสอบไม่เป็นไปตามเงื่อนไขที่กําหนดไว้ในขั้นตอนที่ 5 ให้ถือเป็นความบกพร่อง ของผู้สมัครสอบ และจะไม่ได้รับอนุญาตให้เข้าสอบเช่นเดียวกัน 

4.3 ผู้สมัครสอบที่มีความพิการทางการเห็น ทางการได้ยินหรือสื่อความหมาย หรือทางการเคลื่อนไหวหรือทางร่างกาย ตามประกาศกระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ เรื่อง ประเภทและหลักเกณฑ์ความพิการ ลงวันที่ 30 เมษายน 2552 และที่แก้ไขเพิ่มเติม สํานักงาน ก.พ. จะพยายามจัดหาสิ่งอํานวยความสะดวกให้ในวันสอบ ตามที่ผู้สมัครสอบแจ้งไว้ในใบสมัครและตามที่สํานักงาน ก.พ. เห็นสมควร 

สําหรับผู้สมัครสอบที่มีความพิการทางการเห็น (ตาบอด) ตามประกาศกระทรวงการพัฒนา สังคมและความมั่นคงของมนุษย์ เรื่อง ประเภทและหลักเกณฑ์ความพิการ ลงวันที่ 30 เมษายน 2552 ข้อ 4 (1) หากประสงค์จะสอบโดยใช้คอมพิวเตอร์สําหรับคนพิการให้ระบุในใบสมัครสอบด้วย สํานักงาน ก.พ. จะจัด ให้บริการเฉพาะที่ศูนย์สอบกรุงเทพมหานครและนนทบุรี และในสถานที่ที่สํานักงาน ก.พ. กําหนดเท่านั้น 

5. เงื่อนไขการสมัครสอบ 

5.1 ผู้สมัครสอบที่เลือกสมัครสอบเพื่อวัดความรู้ความสามารถทั่วไปด้วยระบบอิเล็กทรอนิกส์ ประจําปี 2566 และได้ชําระค่าธรรมเนียมในการสมัครสอบแล้ว จะไม่สามารถสมัครสอบเพื่อวัดความรู้ความสามารถทั่วไป ประจําปี 2566 ตามประกาศฉบับนี้ได้ 

5.2 ผู้สมัครสอบเลือกสมัครสอบได้เพียง 1 ระดับวุฒิการศึกษา และเลือกศูนย์สอบได้ เพียง 1 ศูนย์สอบ เมื่อเลือกและยืนยันการสมัครสอบแล้ว จะเปลี่ยนแปลงแก้ไขข้อมูลการสมัครสอบไม่ได้ 

5.3 ผู้สมัครสอบที่สอบผ่านการวัดความรู้ความสามารถทั่วไปของสํานักงาน ก.พ. ในระดับวุฒิการศึกษาใดแล้ว จะไม่สามารถสมัครสอบในระดับวุฒิการศึกษาเดียวกัน หรือต่ำกว่าได้ 

5.4 การกําหนดวัน เวลา และสถานที่สอบ เป็นไปตามที่สํานักงาน ก.พ. กําหนด 

5.5 การสมัครสอบตามขั้นตอนข้างต้น ถือว่าผู้สมัครสอบเป็นผู้ลงลายมือชื่อ และรับรอง ความถูกต้องของข้อมูลดังกล่าวตามพระราชบัญญัติว่าด้วยธุรกรรมทางอิเล็กทรอนิกส์ พ.ศ. 2544 และที่แก้ไข เพิ่มเติม ดังนั้น หากผู้สมัครสอบจงใจกรอกข้อมูลอันเป็นเท็จ อาจมีความผิดทางอาญา ฐานแจ้งความเท็จ ต่อเจ้าพนักงานตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 137

5.6 ผู้สมัครสอบต้องรับผิดชอบในการรับรองตนเองว่าเป็นผู้สําเร็จการศึกษา หรือผู้ที่กําลังจะ สําเร็จการศึกษาตามประกาศรับสมัครสอบ และต้องกรอกรายละเอียดต่าง ๆ ให้ถูกต้อง ครบถ้วน ตรงตามความเป็นจริง ในกรณีที่มีความผิดพลาดอันเกิดจากผู้สมัครสอบ สํานักงาน ก.พ. จะถือว่าผู้สมัครสอบเป็นผู้ขาดคุณสมบัติในการสมัครสอบมาตั้งแต่ต้น

6. การประกาศรายชื่อผู้สมัครสอบ วัน เวลา สถานที่สอบ และระเบียบเกี่ยวกับการสอบ 

6.1 สํานักงาน ก.พ. จะประกาศรายชื่อผู้สมัครสอบ ในวันที่ 10 มีนาคม 2566 ทางเว็บไซต์ หัวข้อ “การสอบเพื่อวัดความรู้ความสามารถทั่วไป (paper & pencil) ประจําปี 2566” หัวข้อย่อย “ประกาศรายชื่อผู้สมัครสอบ” และ 

6.2 สํานักงาน ก.พ. จะประกาศกําหนดวัน เวลา สถานที่สอบ และระเบียบเกี่ยวกับการสอบ ในวันที่ 14 มิถุนายน 2566 ทางเว็บไซต์ หัวข้อ “การสอบเพื่อวัดความรู้ ความสามารถทั่วไป (paper & pencil) ประจําปี 2566” หัวข้อย่อย “ประกาศกําหนดวัน เวลา สถานที่สอบ และระเบียบเกี่ยวกับการสอบ” หรือ “ค้นหาสถานที่สอบและพิมพ์บัตรประจําตัวสอบ” 

7. หลักสูตรและวิธีการสอบ 

ทดสอบเพื่อวัดความรู้ความสามารถทั่วไป (คะแนนเต็ม 200 คะแนน) โดยวิธีการสอบข้อเขียน ดังต่อไปนี้ 

7.1 วิชาความสามารถในการคิดวิเคราะห์ (คะแนนเต็ม 100 คะแนน) เป็นการทดสอบ ความสามารถในการคิดวิเคราะห์ ครอบคลุมประเด็น ดังนี้ 

(1) การคิดวิเคราะห์เชิงภาษา ได้แก่ การใช้ภาษาไทยเพื่อการสื่อสาร ความเข้าใจในการอ่าน ภาษาไทย การจับใจความสําคัญ การสรุปความ การตีความจากบทความ ข้อความ หรือสถานการณ์ต่าง ๆ 

(2) การคิดวิเคราะห์เชิงนามธรรม ได้แก่ การคิดหาความสัมพันธ์เชื่อมโยงคํา ข้อความ หรือรูปภาพ ตลอดจนการหาข้อสรุปอย่างสมเหตุสมผลจากข้อความ สัญลักษณ์ รูปภาพ สถานการณ์ หรือแบบจําลองต่าง ๆ และ 

(3) การคิดวิเคราะห์เชิงปริมาณ ได้แก่ ความเข้าใจ ความคิดรวบยอด และแก้ปัญหา ทางคณิตศาสตร์เบื้องต้น การเปรียบเทียบและวิเคราะห์เชิงปริมาณ ตลอดจนการประเมินความเพียงพอของข้อมูล 

7.2 วิชาภาษาอังกฤษ (คะแนนเต็ม 50 คะแนน) เป็นการทดสอบทักษะภาษาอังกฤษเพื่อวัด ความเข้าใจในหลักการสื่อสาร โดยใช้ศัพท์ สํานวน โครงสร้างประโยคที่เหมาะสม ทั้งในเชิงความหมาย และบริบท แสดงถึงความสามารถในการสื่อสารที่มีประสิทธิภาพ การวัดความสามารถด้านการอ่านโดยทดสอบการทําความเข้าใจในสาระของข้อความหรือบทความ และการวัดความสามารถด้านการเขียนภาษาอังกฤษในระดับเบื้องต้น 

7.3 วิชาความรู้และลักษณะการเป็นข้าราชการที่ดี (คะแนนเต็ม 50 คะแนน) เป็นการทดสอบ ความรู้ที่เป็นพื้นฐานของการเป็นข้าราชการที่ดี ได้แก่ ระเบียบบริหารราชการแผ่นดิน หลักการบริหารกิจการ บ้านเมืองที่ดี วิธีปฏิบัติราชการทางปกครอง หน้าที่และความรับผิดในการปฏิบัติหน้าที่ราชการ ตลอดจนเจตคติและจริยธรรมสําหรับข้าราชการ 

8. เกณฑ์การสอบผ่านการวัดความรู้ความสามารถทั่วไป 

ระดับต่ำกว่าปริญญาตรีและปริญญาตรี 

ผู้ที่จะถือว่าเป็นผู้สอบผ่านการวัดความรู้ความสามารถทั่วไป ต้องเป็นผู้สอบวิชาความสามารถในการคิดวิเคราะห์ ได้คะแนนรวมไม่ต่ำกว่าร้อยละ 60 วิชาภาษาอังกฤษ ได้คะแนนไม่ต่ำกว่าร้อยละ 50 และวิชาความรู้และลักษณะการเป็นข้าราชการที่ดี ได้คะแนนไม่ต่ำกว่าร้อยละ 50 

ระดับปริญญาโท 

ผู้ที่จะถือว่าเป็นผู้สอบผ่านการวัดความรู้ความสามารถทั่วไป ต้องเป็นผู้สอบวิชาความสามารถในการคิดวิเคราะห์ ได้คะแนนรวมไม่ต่ำกว่าร้อยละ 65 วิชาภาษาอังกฤษ ได้คะแนนไม่ต่ำกว่าร้อยละ 50 และวิชาความรู้และลักษณะการเป็นข้าราชการที่ดี ได้คะแนนไม่ต่ำกว่าร้อยละ 50 

9. การประกาศรายชื่อผู้สอบผ่านการวัดความรู้ความสามารถทั่วไป และการพิมพ์หนังสือรับรองผลการสอบผ่านการวัดความรู้ความสามารถทั่วไปของสํานักงาน ก.พ. 2566 

9.1 สํานักงาน ก.พ. จะประกาศรายชื่อผู้สอบผ่านการวัดความรู้ความสามารถทั่วไป ประจําปี ภายในวันที่ 13 กันยายน 2566 ทางเว็บไซต์ และ

9.2 ผู้สอบผ่านสามารถพิมพ์หนังสือรับรองผลการสอบผ่านการวัดความรู้ความสามารถทั่วไป ของสํานักงาน ก.พ. ได้ทางเว็บไซต์ได้ตั้งแต่วันที่ 22 กันยายน 2566 เป็นต้นไป 

10. การนําหนังสือรับรองผลการสอบผ่านการวัดความรู้ความสามารถทั่วไปของสํานักงาน ก.พ. ไปใช้ในการสอบแข่งขันเพื่อบรรจุและแต่งตั้งบุคคลเข้ารับราชการของส่วนราชการต่าง ๆ 

10.1 หนังสือรับรองผลการสอบผ่านการวัดความรู้ความสามารถทั่วไปของสํานักงาน ก.พ. สามารถใช้ได้ตลอดไป เว้นแต่ ก.พ. จะกําหนดเป็นอย่างอื่น 

10.2 หนังสือรับรองผลการสอบผ่านการวัดความรู้ความสามารถทั่วไปของสํานักงาน ก.พ. ในระดับวุฒิการศึกษาที่สูงกว่าสามารถนําไปใช้ในการสอบแข่งขันในระดับวุฒิการศึกษาที่ต่ำกว่าได้ 

10.3 ผลการสอบถือเป็นโมฆะ เมื่อปรากฏกรณีหนึ่งกรณีใด ดังนี้ 

(1) เลขประจําตัวประชาชนของผู้สอบผ่านการวัดความรู้ความสามารถทั่วไปไม่ตรงกับเลขประจําตัวประชาชนของกรมการปกครอง 

(2) ผู้สอบผ่านไม่สําเร็จการศึกษาภายในปีการศึกษา 2566 

(3) ผู้สอบผ่านเป็นผู้กระทําการทุจริตในการสอบตามประกาศนี้ 

10.4 ผู้สอบผ่านสามารถนําหนังสือรับรองผลการสอบผ่านการวัดความรู้ความสามารถทั่วไป ของสํานักงาน ก.พ. ตามข้อ 4 ไปใช้กับส่วนราชการที่ประกาศรับสมัครสอบแข่งขันเพื่อบรรจุและแต่งตั้งบุคคล เข้ารับราชการได้ โดยต้องมีคุณวุฒิการศึกษาตรงตามประกาศรับสมัครสอบของส่วนราชการนั้นในครั้งนั้นด้วย 

11. การขอดูผลคะแนนสอบเพื่อวัดความรู้ความสามารถทั่วไป 

11.1 ผู้สอบสามารถดูผลคะแนนสอบได้ทางเว็บไซต์หัวข้อ “การสอบเพื่อวัดความรู้ความสามารถทั่วไป (paper & pencil) ประจําปี 2566” หัวข้อย่อย “ดูผลคะแนนสอบ” โดยกรอกเลขประจําตัวประชาชน 13 หลัก พร้อมรหัสผ่านที่กําหนดไว้ตอนสมัครสอบ เพื่อยืนยันสถานะผู้สอบ

11.2 การประกาศรายชื่อผู้สอบผ่านการวัดความรู้ความสามารถทั่วไปของสํานักงาน ก.พ. ให้ถือเป็นที่สุด ผู้สอบไม่มีสิทธิขอให้ทบทวนแต่ประการใด กรณีที่มีข้อสงสัยเกี่ยวกับผลการสอบ สามารถ ติดต่อสอบถามด้วยตนเองได้ที่ศูนย์สรรหาและเลือกสรร สํานักงาน ก.พ. ภายใน 90 วัน นับจากวันที่ประกาศ รายชื่อผู้สอบผ่านการวัดความรู้ความสามารถทั่วไป 

Leave a Reply

Your email address will not be published. Required fields are marked *