เปิดวิธีสมัครสอบ ก.พ. 2566 แบบละเอียด ทั้งแบบ e-Exam และ Paper & Pecil เช็กเลยต้องทำอย่างไร เราเลือกสอบแบบไหนได้บ้าง!
ใครที่กำลังรอคอยการประกาศสอบ ก.พ. ประจำปีนี้! ถือเป็นข่าวดีเมื่อล่าสุด สำนักงานคณะกรรมการข้าราชการพลเรือน (สำนักงาน ก.พ.) ได้ประกาศรับสมัครสอบเรียบร้อยแล้ว เริ่มวันที่ 30 มกราคม -17 กุมภาพันธ์ 2566
ดังนั้นแล้ววิธีการสมัครสอบ จะต้องทำอย่างไรบ้างนั้น วันนี้เราได้นำข้อมูลแบบละเอียดๆ มาฝาก ให้ทุกคนทำตามกันแบบง่ายๆ กัน!
สอบ ก.พ. คืออะไร
สอบ ก.พ. คือ การสอบคัดเลือกบุคคลเข้ามาทำงานให้หน่วยงานราชการ ซึ่งจะมีการจัดสอบเป็นประจำทุกปี
สำนักงาน ก.พ. จะรับสมัครสอบทั้งผู้ที่จบการศึกษาและผู้ที่กำลังศึกษาชั้นปีสุดท้าย โดยมีระดับวุฒิการศึกษา ดังนี้
- ระดับวุฒิประกาศนียบัตรวิชาชีพ (ปวช.)
- ระดับวุฒิประกาศนียบัตรวิชาชีพเทคนิค (ปวท.) อนุปริญญา หรือ ประกาศนียบัตรวิชาชีพชั้นสูง (ปวส.)
- ระดับวุฒิปริญญาตรี
- ระดับวุฒิปริญญาโท
วิธีการสมัครสอบ ก.พ.
ในการสมัครสอบนั้น จะมีให้เลือกสอบแบบ e-Exam และ แบบ Paper & Pencil
- การสมัครสอบแบบ e-Exam (วุฒิการศึกษาระดับ ป.ตรี และ ป.โท)
1.) เข้าเว็บไซต์ https://job3.ocsc.go.th/OCSRegisterWeb/enrollselect
2.) เลือกหัวข้อย่อย “การสมัครสอบ ก.พ. แบบ e-Exam“
3.) เลือกรอบสอบ สถานที่สอบ และกรอกข้อมูลเพื่อตรวจสอบสิทธิการสมัครสอบ กรอกข้อมูลในใบสมัครสอบ เมื่อยืนยันการสมัครสอบแล้ว จะไม่สามารถเปลี่ยนแปลงแก้ไขได้
4.) กรณีที่นั่งสอบในรอบสอบที่ต้องการเต็มแล้ว ผู้สมัครสอบสามารถเลือกรอบสอบอื่นที่ยังมีที่นั่งสอบเหลืออยู่ หากไม่สามารถเลือกรอบสอบใด ๆ ได้เนื่องจากที่นั่งสอบเต็มทุกรอบสอบแล้ว ผู้สนใจสมัครสอบอาจตรวจสอบรอบสอบที่ว่างได้อีก เมื่อมีผู้ไม่ชำระเงินภายในวัน เวลาที่กำหนด
5.) กรอกข้อมูลการชำระเงินสมัครสอบ โดยสามารถปรินต์ไปชำระธนาคารต่างๆ หรือปริ้นคิวอาร์โค้ดผ่านแอปพลิเคชัน “Krungthai Next” หรือ “เป๋าตัง”ก็ได้
6.) หลังจากชำระเงินแล้ว 1 วัน ให้ผู้สมัครสอบเข้าไปตรวจสอบใน เว็บไซต์ แล้วอัพโหลดรูปถ่ายของผู้สมัคร (รูปถ่ายหน้าตรง ขนาด 1*1.5 นิ้ว ขนาดไฟล์ 40-100 KB ประเภทไฟล์.JPG)
7.) พิมพ์บัตรประจำตัวสอบ พร้อมลงลายมือชื่อให้เรียบร้อย แล้วนำไปสอบ ก.พ.
- การสมัครสอบแบบ Paper & Pencil (ทุกระดับวุฒิการศึกษา)
1.) เข้าเว็บไซต์ https://job3.ocsc.go.th/OCSRegisterWeb/enrollselect
2.) เลือกหัวข้อย่อย “การสมัครสอบ ก.พ. แบบ Paper & Pencil”
3.) กรอกข้อมูลส่วนบุคคล ได้แก่ ชื่อ นามสกุล เลขประจำตัวประชาชน รหัสหลังบัตรประจำตัวประชาชน วันเดือนปีเกิด
4.) กรอกข้อมูลการชำระเงินสมัครสอบ โดยสามารถปรินต์ไปชำระธนาคารต่างๆ หรือปริ้นคิวอาร์โค้ดผ่านแอปพลิเคชัน “Krungthai Next” หรือ “เป๋าตัง”ก็ได้
5.) หลังจากชำระเงินแล้ว 1 วัน ให้ผู้สมัครสอบเข้าไปตรวจสอบใน เว็บไซต์ แล้วอัพโหลดรูปถ่ายของผู้สมัคร (รูปถ่ายหน้าตรง ขนาด 1*1.5 นิ้ว ขนาดไฟล์ 40-100 KB ประเภทไฟล์.JPG)
7.) พิมพ์บัตรประจำตัวสอบ พร้อมลงลายมือชื่อให้เรียบร้อย แล้วนำไปสอบ ก.พ.
ขั้นตอนการพิมพ์บัตรประจำตัวสอบ
1.) เข้าเว็บไซต์ https://job3.ocsc.go.th/OCSRegisterWeb/enrollselect
2.) เลือก “สมัครสอบเพื่อวัดความรู้ความสามารถทั่วไป ประจำปี 2563 แบบ e-Exam (สำหรับระดับ ป.ตรี และ ป.โท)” หรือ “สมัครสอบเพื่อวัดความรู้ความสามารถทั่วไปประจำปี 2563 แบบ Paper & Pencil”
3.) เลือก “พิมพ์บัตรประจำตัวสอบ” กรอกเลขประจำตัวประชาชน และกรอกตัวอักษรที่เห็นบนหน้าเว็บ คลิก “ค้นหา”
4.) จะปรากฏชื่อ นามสกุล สถานที่สอบ หากตรวจสอบครบถ้วนแล้ว ให้กดปรินต์ได้เลย
ความแตกต่างของการสอบ ภาค ก, ภาค ข, ภาค ค
การสอบ ก.พ. ที่เราพูดถึงกันนี้ คือ การสอบ ก.พ. ภาค ก. แล้ว ภาค ข. หรือ ภาค ค. คืออะไรนั้น
ต้องบอกก่อนว่าในการสอบเข้าหน่วยงานราชการนั้นจะใช้ข้อสอบ ก.พ. อยู่ด้วยกัน 3 แบบ คือ ภาค ก., ภาค ข. และ ภาค ค. ซึ่งมีข้อแตกต่างกันดังนี้
ภาค ก. : เป็นการสมัครสอบโดยทั่วไปที่ผู้สอบจะต้องเจอกันทุกคน ถ้าผ่านแล้วจุงจะสามารถสอบในรอบของภาค ข. ได้
ภาค ข. : เป็นในส่วนของข้อเขียนในแต่ละตำแหน่งที่มีหลากหลาย จึงไม่ใช่ข้อสอบชุดเดียวกัน หรือสามารถใช้ร่วมกันได้
ภาค ค. : เป็นในส่วนของการสัมภาษณ์และการพิจารณาของทางหน่วยงานราชการต้นสังกัดเราเป็นหลัก
ทั้งนี้ ถ้าหากผ่านทุกรอบแล้ว ก็เตรียมตัวบรรจุเข้ารับราชการกันได้เลย